วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

กระเหรี่ยงคอยาว (บ้านห้วยเสือเฒ่า )



ประวัติความเป็นมา


            กระเหรี่ยงคอยาว หรือชนเผ่าปาดอง เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งอาศัยอยู่ลึกเข้าไปในดินแดนพม่า (ติดต่อกับเขตบ้านน้ำเพียงดินของประเทศไทย) ครับ ชาวปาดองยังชีพด้วยการเกษตรกรรม ปลูกข้าว ใบชา ยาสูบส่วนใหญ่จะนับถือ ศาสนาพุทธกับถือผี หญิงสาวชาวปาดอง จะสวมห่วงทองเหลืองที่คอและแขนขาและจะเพิ่มจำนวนห่วงมากขึ้นเมื่อ มีอายุเพิ่มขึ้น การสวมห่วงค้ำคอไว้ตลอดเวลา ห่วงจะดันให้คอดูยาวกว่าปกติ แต่เคยมีการพิสูจน์ในวงการแพทย์ โดยการเอ็กซเรย์ได้ผลออกมาว่า ความจริงแล้วคอปาดองจะไม่ยาวขึ้นกว่าคนธรรมดา กระดูกคอยังคงเท่าเดิม แต่ห่วงจะ ไปกดกระดูกช่วงไหล่ให้ลู่ต่ำลงไป จนดูว่าคอยาวกว่าปกติ อยู่ในเขตตำบลผาบ่อง เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมล่องเรือตามลำน้ำปาย ผ่านบ้านห้วยเดื่อไปจนถึงบ้านน้ำเพียงดินโดยเรือหางยาว ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ตลอดเส้นทางที่ล่องเรือไปตามลำน้ำปายจะผ่านระลอกน้ำที่ลดระดับลดหลั่นกันไปคล้ายธารน้ำตก ละยังได้สัมผัสธรรมชาติริมน้ำปายนับเป็นทัศนียภาพที่งดงาม จุดเด่นของบ้านน้ำเพียงดิน คือ วิถีชีวิตของชาวปากด่อง ( กะเหรี่ยงคอยาว ) หรือกระเหรี่ยงใส่คอ(กะย่าง) รวมถึงสินค้าพื้นเมืองที่ชาวปากด่องนำมาจำหน่าย สินค้าจำพวกผ้าทอต่าง ๆ ล้วนทำมากับมือของชาวปากด่อง


ลักษณะของพื้นที่

         ลักษณะของพื้นที่เป็นชุมชนกะเหรี่ยงคอยาวห้วยเสือเฒ่ามีลักษณะเป็นธรรมชาติ โดยตั้งแต่ทางเข้าของบ้านห้วยเสือเฒ่า สมัยก่อนจะต้องข้ามท่าน้ำ 12 ท่า ลักษณะโดยรอบจะเป็นป่าไม้ ซึ่งกะเหรี่ยงคอยาว(กะยัน)ได้อพยพมาจากประเทศพม่าและมาอาศัยอยู่ที่บ้านในสอย ต่อมาจึงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หมู่บ้านห้วยเสือเฒ่า เนื่องจากตอนนั้นเกิดการสู้รบกันบ่อย จุดเด่นกะเหรี่ยงคอยาว(กะยัน)คือการใส่ห่วงที่คอ แขน และขา มีอาชีพทอผ้าและทำไร่ และหมู่บ้านห้วยเสือเฒ่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน สินค้าที่นำมาขายให้กับนักท่องเที่ยวก็จะเป็นพวกผ้าทอ กำไลเงิน สร้อยคอและเครื่องประดับของชนเผากระเหรี่ยงคอยาวในแบบต่าง ๆ (ไข่เมา ไม่มีสกุล : 20/09/2550)

การแต่งกาย

           การแต่งกายของกะเหรี่ยงคอยาว(กะยัน) ในประเทศพม่าไม่แตกต่างไปจากชนเผ่าอื่นๆ ในชีวิตประจำวันจะสวมกางเกงขายาว เสื้อตัวสั้น ที่น่องตอนบนจะใส่กำไลที่ทำด้วยไม่ไผ่หรือหวาย ที่ข้อเท้าจะสวมกำไลข้อเท้าประดับด้วยลูกปัดสีขาว การแต่งกายของกะเหรี่ยงคอยาวชาย(กะยัน)แต่เดิมนั้นจะสวมเสื้อทรงกระสอบสีขาวซึ่งมีแขน เหมือนผู้หญิงแตกต่างกันที่เสื้อของผู้ชายมีแถบสียาวลงมาจากไหล่ทั้งสองข้างจรดปลายเสื้อ ส่วนกางเกงจะสวมกางเก่งขายาวธรรมดา ปัจจุบันผู้ชายกะยันไม่ได้แต่งกายแตกต่างไปจากผู้ชายไทยในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในช่วงเทศกาลเช่นงานกะคว้าง ชายหนุ่มที่เข้าร่วมเต้นรอบเสากะคว้างจะใส่กางเกงขาก๊วย เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาวโพกด้วยผ้าสีแดง (สมทรง บุรุษพัฒน์ และ สรินยา คำเมือง 2542 : 9 )

          ในทางตรงกันข้าม การแต่งกายของกะเหรี่ยงคอยาวหญิง(กะยัน)ในประเทศพม่าจะเด่นมาก ผู้หญิงกะยันที่แต่งกายจะสวมเสื้อทรงกระสอบสีขาวซึ่งมีแขนในตัว ความยาวของเสื้อยาวลงมาถึงสะโพก แล้วสวมเสื้อแขนยาว สีดำทับอีกที ส่วนผ้าถุงนั้นสีดำและมีลักษณะแคบทรงกระสอบ พับทบกันด้านหน้า ยาวถึงหัวเข่า ผ้าที่นำมาทำเครื่องนุ่งห่มจะทอเองโดยใช้เครื่องทอแบบใช้หนังรัดข้างหลัง ซึ่งเป็นการท่อผ้าที่เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง กะเหรี่ยงคอยาวผู้หญิง(กะยัน)จะรวบผม และปักด้วยปิ่นปักผมที่เป็นเงินหรือไม้ยาว ๆ หรืออาจใช้หวีเงินอันใหญ่สับไว้ แล้วผูกผมด้วยผ้าสี เป็นปมตรงด้านหน้าศีรษะ สวมตุ้มหูเงินรอบคอ เป็นจุดเด่นที่สุด คือสวมห่วงคอทองเหลืองที่เรียกว่า “เดี้ยงตือ” ประดับประดาด้วยเหรียญเงินและลูกปัด ส่วนที่ข้อมือใส่กำไลข้อมือที่เป็นทองเหลืองหรืออะลูมิเนียม ที่น่องตอนบนใต้เข่าจะใส่ทองเหลืองและพันผ้าไว้ใต้ห่วงกันเสียดสีกับผิว ถัดจากห่วงบริเวณน่องลงมาถึงข้อเท้าจะใส่ห่วงทองเหลือง ห่วงที่ใส่ทั้งตัวนี้รวมทั้งปลอกคอด้วยจะหนัก 22- 36 กิโลกรัม แต่ปัจจุบันจะสวมน้อยลงเหลือแค่ 7 กิโลกรัม กะเหรี่ยงคอยาวผู้หญิง(กะยัน)ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจะใส่เพียงเสื้อทรงกระสอบสีขาวคอวีตัวยาวถึงสะโพกและถ้าถุงสั้นแค่เข่าสีดำทรงกระสอบ ที่น่องใส่ห่วงทองเหลือง ใต้เข่าจะพันผ้าตั้งแต่ใต้ห่วงทองเหลืองถึงข้อเท้า ที่ข้อมือจะใส่กำไลอลูมิเนียมประมาณ 6-7 อัน ถ้าเป็นเด็กจะใส่ 3 อัน ส่วนทรงผมทุกคนไว้ผมหน้าม้า ด้านหลังเกล้าเป็นมวยไว้หรือโพกผ้าที่มีสีสัน เด็ก ๆ มักจะตัดผมสั้น ที่คอก็สวมแค่ห่วงทองเหลืองและผ้าสีใต้คางกันการเสียดสี (สมทรง บุรุษพัฒน์ และ สรินยา คำเมือง 2542 : 9 -10)

        การใสห่วงคอทองเหลืองของสาวกะเหรี่ยงคอยาว(กะยัน)จะเริ่มตั้งแต่มีอายุได้ 5-9 ปี โดยเข้าพิธีใส่ห่วงคอทองเหลือง มีหมอผีประจำเผ่าใส่ให้ ก่อนใส่จะใช้กระดูกไก่ทำนายหาฤกษ์ยามที่ดีที่สุด แต่เดิมนั้นเล่ากันว่าผู้หญิงที่จะสวมห่วงทองเหลืองจะต้องเป็นหญิงที่เกิดวันพุธตรงกับวันเพ็ญเท่านั้น และจะต้องเป็นหญิงกะยันที่แท้จริงไม่ใช้ผสมกับเผ่าอื่น ถ้าไม่ยอมสวมห่วงจะถูกขับออกจากเผ่าทันทีไม่ให้ความช่วยเหลือหรือตัดขาดจากเผ่า ผู้หญิงบางคนจะอับอาย (สมทรง บุรุษพัฒน์ และสรินยา คำเมือง 2542 : 10)

หมายเหตุ กระเหรี่ยงคอยาวมีการเรียกหลายชื่อ กะยัน, เกกองดู, เกกูปาด่อง (สมทรง บุรุษพัฒน์ และ สรินยา คำเมือง 2542 : 10)



ของฝากของที่ระลึก

ผ้าทอด้วยมือของชาวกระเหรี่ยงคอยาว ตุ๊กตาชาวเขาเผ่าต่างๆ


ค่าธรรมเนียมเข้าชม
ชาวไทยไม่เสียค่าธรรมเนียม - ค่าเข้าชม
ชาวต่างชาติเสียค่าธรรมเนียม - ค่าเข้าชม คนละ 250 บาท

สถานที่ตั้ง
หมู่บ้านห้วยเสือเฒ่า
หมู่ 8 ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58000
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ททท. สำนักงานแม่ฮ่องสอน
โทรศัพท์: 053-612-982 - 3
โทรสาร: 053 612-984

แหล่งข้อมูลอ้างอิง: ศูนย์ไทใหญ่ศึกษา วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน, โครงการสำรวจแหล่งเรียนรู้ในภูมิภาค คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ข่าวประชาสัมพันธ์ กฎระเบียบการเข้าชมบานรวมไทย และปางอุ๋ง ประจำปี 2555

หมู่บ้านรวมไทย (ปางอุ๋ง) 
              

กฎข้อบังคับสำหรับนักท่องเที่ยว
1. กลุ่มนักท่องเที่ยวที่สามารถเข้าไปในพื้นที่ได้ คือ
- รถในพื้นที่(ชาวบ้านอาศัยในพื้นที่)
- รถที่ติดตราของหน่วยงานราชการทุกหน่วยงาน
- รถไม่ติดตราของหน่วยงานราชการซึ่งได้รับอนุญาตใหเสามารถเข้าผ่านพื้นที่โดยรับบัตรผ่านจากศูนย์โครงการฯ และต้องประทับตราหน่วยด้วย
- รถนักท่องเที่ยวที่เข้าพักบ้านรวทไทยมีบัตรผ่านเข้าที่พัก(สามารถเข้าได้ในห้วงเวลา 09.00 - 18.00 น.)
- รถรับจ้างประจำในพื้นที่

2. กลุ่มที่ไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่ได คือ

- รถยนต์ส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวที่ไป-กลับในวันเดียวไม่พักที่พักค้างคืนบ้านรวมไทย
- รถยนต์ส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวที่พักค้างคืนแต่มานอกห้วงเวลาที่กำหนด(สามารถเข้าได้ในห้วงเวลา 09.00 - 18.00)
- รถผู้ประกอบการท่องเที่ยวไปกลัวในวันเดียวไม่มีบัตรเข้าพัก
- รถบัส รถสิบล้อ และรถซึ่งมีขนาดใหญ่ซึ่งก่อให้เกิดการตราจรติดขัด
**********************
ะเบียบข้อปฏิบัติในพื้นที่โครงการจัดหมู่บ้านรวมไทย ตามพระราชดำริ

1. โครงการจัดหมู่บ้านรวมไทย ตามพระราชดำริ พื้นที่หมู่บ้าน เปิด 09.00 น. - 20.00 น.
2. การเข้าพื้นที่โครงการจัดการหมู่บ้านรวมไทย ตามพระราชดำริ ต้องผ่านระบบการลงทะเบียน โดยขอรับบัตรผ่าน ประเภทพักค้างคืน ได้ที่ ศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอนในพระบรมราชินูปถัมภ์ ถนนขุนลุมประพาส ตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร. 0-5361-1244 โทรสาร 0-5361-1649 ส่วนประเภทไปกลับให้ซื้อบัตรรถ(ซึ่งเป็นบัตรผ่าน)และเดินทางโดยรถโดยสารสองแถวที่บ้านนาป่าแปก(โดยให้จอดรถไว้บริเวณที่จอดรถบ้านนาป่าแปกจะมีเจ้าหน้าที่ดูแล)
3. การจองที่พักสามารถสอบถามข้อมูลและติดต่อได้ที่ ศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอนฯ โดยแจ้งชื่อ - เบอร์โทร ติดต่อกลับ โครงการจัดหมู่บ้านรวมไทย ตามพระราชดำริ เนื่องจากพื้นที่สามารถ รองรับผู้เข้าพักได้จำนวน 500 คน/วัน4. การขับขี่ยานพาหนะต้องปฏิบัติตามกฎ หรือเครื่องหมายจราจรที่เจ้าหน้าที่กำหนดไว้ การจอดยานพาหนะต้องต้องจอดในที่จัดไว้เท่านั้น
5. ห้ามนำสารเสพติดที่ผิดกฎหมายทุกชนิดเข้ามาในเขตพื้นที่หมู่บ้านรวมไทย ตามพระราชดำริ
6. ห้ามอาบหรือลงเล่นน้ำในอ่างเก็บน้ำ หากมีกิจกรรมล่องแพรให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบโดยใช้อุปกรณ์ที่ช่วยพยุงตัวในน้ำ กรณีประสบอุบัติเหตุจมน้ำ ทางเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการหมู่บ้าน จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
7. การพักแรมค้างคืน โดยจอดยานพาหนะ การใช้เต็นท์ กระโจม รถพ่วง ให้กระทำได้ในบริเวณที่เจ้าหน้าที่กำหนดไว้
8. การก่อไฟเพื่อการใดๆ ให้ทำได้เฉพาะในเขตที่เจ้าหน้าที่กำหนดไว้และต้องทำด้วยความระมัดระวัง เมื่อเลิกแล้วต้องดับไฟให้เรียบร้อย
9. การใช้สถานที่เพื่อการใดๆ ต้องมิให้เป็นการเสื่อมเสียศิลธรรม - วัฒนธรรมอันดีงาม และไม่ส่งเสียงดังหรือกระทำ อันเป็นการรบกวนหรือเป็นการเดือดร้อนรำคาญแก่คนหรือสัตว์ โดยเฉพาะช่วง เวลา 22.00 - 06.00 น.10. ห้ามทิ้งขยะสิ่งปฏิกูล ของเหลือรับประทาน ลงในอ่างเก็บน้ำ และต้องนำขยะสิ่งปฏิกูลไปทิ้งในจุดที่กำหนด หรือนำออกไปภายนอกพื้นที่หมู่บ้าน11. ห้ามการประกอบอาหารในพื้นที่พัก โครงการจัดหมู่บ้านรวมไทย ตามพระราชดำริ
12. ห้ามนำสิ่งของทางราชการ สาธารณะ หรือของชุมชนออกนอก พื้นที่หมู่บ้าน โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้รับผิดชอบโดยเด็ดขาด
13. ห้ามนำพาและจุดประทัด ดอกไม้ไฟ หรือทำให้เกิดเสียงดัง ในพื้นที่โครงการ
14. ห้ามกระทำการใดๆ ซึ่งเป็นการทำลายสภาพแวดล้อมโดยเด็ดขาด
15. หากไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบเจ้าหน้าที่โครงการฯ มีสิทธิ๋เชิญออกนอกพื้นที่ดครงการฯ
********************

ระเบียบข้อปฏิบัติการจองบ้านพักโครงการจัดหมู่บ้านรวมไทย ตามพระราชดำริ

1. โครงการจัดหมู่บ้านรวมไทย ตามพระราชดำริ  จะเก็บข้อมูลการจองที่พักของท่าน เป็นระยะเวลา 7 วัน
2. หากไม่โอนเงินภายใน 7 วันนับตั้งแต่วันจองถือว่าการจองยกเลิก (เลขบัญชี 508-006642-3 ชื่อบัญชีเกสเฮาส์รวมไทย ธนาคารกรุงไทย สาขาแม่ฮ่องสอน)
3. กรุณาส่งแฟกซ์ใบโอนเงินมาที่หมายเลข 053-611649 หรือ email มาที่ 
g_h21@hotmail.com โดยระบุ  ชื่อผู้เข้าพัก/ผู้จอง บ้านพัก วันที่เข้าพัก ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบการชำระเงินของท่าน
4. การโอนเงินเข้าบัญชีแล้วจะไม่มีการคืนเงินให้ ไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น ท่านสามารถ เปลี่ยนวันเข้าพักได้ถ้าวันนั้นมีบ้านว่างภายในระยะเวลาสามเดือน
5. กรุณานำใบโอนเงินฉบับจริงมาในวันเข้าพักเพื่อใช้ในการขอรับบัตรเข้าพื้นที่โครงการฯ
6. ในการเข้าพื้นโครงการจัดหมู่บ้านรวมไทย ตามพระราชดำริ ต้องผ่านระบบการลงทะเบียนที่ศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ถนนขุนลุมประพาส ตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน   โทร. 053-611244
7. พื้นที่กลางเต็นท์  100 เต็นท์ต่อวัน  การจองแจ้งชื่อ – เบอร์โทรติดต่อกลับชำระเงินที่ศิลปาชีพฯ พร้อมรับใบผ่านเข้าเขตพื้นที่โครงการจัดหมู่บ้านรวมไทย ตามพระราชดำริ  


หมายเหตุ     ***สำหรับผู้ที่ติดต่อหรือจองบ้านพักโครงการ โปรดสอบถามเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจนว่าจองบ้านพักอยู่ในส่วนใดของโครงการเพื่อเป็นการเข้าใจกันทั้งสองฝ่าย
หมู่บ้านเปิดเวลา  09.00 น. ถึง 20.00 น.
********************
ขอขอบคุณ  ข้อมูลจากสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดแม่ฮ่องสอน

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บ้านท่าโป่งแดง


ที่ตั้ง

          บ้านท่าโป่งแดง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ห่างจากจากที่ว่าการอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนประมาณ 3 กิโลเมตร การเดินทางจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนมุ่งหน้าลงมาทางทิศใต้ตามทางหลวงหมายเลย 108 ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปตามทางถนนหมู่บ้านอีกประมาณ 1 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 21,875 ไร่ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีพื้นที่ราบอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำ และที่ราบหุบเขามีสายน้ำสายสำคัญไหลผ่านคือ แม่น้ำปาย



ประวัติความเป็นมา

           บ้านท่าโป่งแดง เดิมเป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีครัวเรือนประมาณ 10-12 ครัวเรือน ตั้งขึ้นก่อนส่งครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปี พ.ศ.2466 ผู้นำคนแรกคือ นายแต่ยะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านท่าโป่งแดงตั้งอยู่บนที่ราบริมฝั่งแม่น้ำปาย พื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีลำห้วยม่อนตะแลงไหลไปบรรจบแม่น้ำปาย เหมาะแก่การเพาะปลูกและจับสัตว์น้ำ ต่อมาในปี พ.ศ.2516 ได้เกิดอุทกภัยอย่างหนัก น้ำท่วมหมู่บ้านท่าโป่งแดง ชาวบ้านจึงย้ายหมู่บ้านมาอยู่ที่ราบเชิงเขาจนถึงปัจจุบันนี้



วิถีชีวิตและอัตลักษณ์

           ชาวบ้านท่าโป่งแดงส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าไทยใหญ่ หรือที่เรียกตัวเองว่า “ไต” มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง มักจะตั้งหมู่บ้านอยู่บริเวณที่ราบลุ่มหุบเขาหรือบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ บ้านเรือนสร้างจากไม้ไผ่ยกพื้นสูง หลังคามุงด้วยหญ้าแห้งภายในบ้านจะมี เตาไฟ มีห้องนอน บ้านแต่ละหลังจะมีสวนล้อมรอบ สัตว์เลี้ยงจะผูกอยู่บริเวณประตูบ้าน เนื่องจากความเจริญและความทันสมัยในยุคปัจจุบันทำให้การสร้างบ้านเรือนแบบเก่าหาดูได้ยากจนแทบจะไม่หลงเหลืออยู่ แต่ชาวบ้านก็ยังคงอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ นับถือศาสนาพุทธอย่างเคร่งครัด เด็กผู้ชายจะต้องบวชเรียนตั้งแต่อายุยังน้อย จึงมีประเพณีที่เรียกว่า ประเพณีปอยส่างลอง ซึ่งเป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดในพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

           อาชีพโดยส่วยใหญ่ของชาวบ้านคือเกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าว กระเทียม พืชผักผลไม้ เป็นต้น อาชีพรองลงมา คือ ด้านปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์เพื่อนำไว้ใช้เป็นแรงงาน และบริโภคภายในครัวเรือนเท่านั้น สัตว์ที่นิยมเลี้ยง ได้แก่ โค กระบือ สุกร ไก่ เป็นต้น เมื่อว่างจากหน้าทำการเกษตรชาวบ้านจะทำอาชีพเสริม เช่นการทำขนมงา ชาใบหม่อน ไม้ประดิษฐ์ และรับจ้างทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการรวมกลุ่มกันของชาวบ้านในการสืบสานศิลปวัฒนาธรรมของบ้านท่าโป่งแดงในการทำ “ปานซอย” และ “จองพารา” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของหมู่บ้าน



           วิถีชีวิตประจำวันของชาวไทยใหญ่ที่บ้านท่าโป่งแดงที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่น่าสนใจ เรียกว่า “ป๋างน้ำเหน้ง” เป็นภาษาไทยใหญ่ แปลเป็นภาษาไทยว่า สภาน้ำชา ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันเก่าแก่ และมีคุณค่าของคนไทยใหญ่ เมื่อมีแขกไปใครมาก็จะยกน้ำชามาต้อนรับขับสู้แขกทุกๆ คนที่มาเยือนถึงบ้าน และยังเป็นที่เรียนรู้ของคนในชุมชนในการแลกเปลี่ยนความรู้ การปรึกษาหารือ หรือการส่งเสริมอาชีพของกลุ่มศิลปหัตถกรรมปานซอย บ้านท่าโป่งแดง ซึ่งเป็นศิลปหัตถกรรมในด้านการออกแบบลวดลายปานซอย รวมถึงการฉลุปานซอยที่ได้สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ

ปานซอย



            ปานซอย เป็นชื่อภาษาท้องถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่มีลักษณะเหมือนการฉลุลวดลายลงบนแผ่นโลหะ ซึ่งในอดีตนิยมใช้เป็นของตกแต่ง ประดับประดาตามวัดวาอาราม ซุ้มเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน หรือตามบ้านเรือนของเจ้าขุนมูลนาย วัสดุที่ใช้ทำปานซอยส่วนมากมักทำจากโลหะ เช่น สังกะสี แต่ปัจจุบันหันมาใช้อะลูมิเนียมกันมาก เนื่องจากไม่เป็นสนิมและยังให้ความแวววาวมากกว่า หรืออาจทำจากไม้หรือกระดาษก็ได้ การจะทำปานซอยนั้นต้องทำการออกแบบลวดลายก่อนเพื่อให้ได้ตามขนาดของพื้นที่ที่จะติดลวดลาย และให้เหมาะสมกับสถานที่นั้นๆ และการผลิตนั้นต้องใช้ช่างที่มีความสามารถ และความชำนาญในด้านนี้โดยเฉพาะเพื่อให้ได้งานที่สวยงาม โดยจะไม่ใช้เครื่องจักรกลใดๆ ทั้งสิ้นเพื่อคงไว้ซึ่งการอนุรักษ์วัฒนธรรมศิลปะอันเก่าแก่ที่สืบทอดกันมายาวนานของชาวแม่ฮ่องสอน ปัจจุบันนี้ก็ยังคงนิยมใช้ปานซอยในการตกแต่งตามสถานที่ราชการเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงโรงแรมที่ต้องการอนุรักษ์ไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของแม่ฮ่องสอน โดยส่วนใหญ่จะประดับตามเชิงชาย มุข ประตู หรือที่อื่นๆ ตามความเหมาะสมเพื่อเพิ่มความโดดเด่นสวยงามขึ้น



          เนื่องจากมีผู้สนใจนำปานซอยไปประดับมากขึ้น จึงมีลูกค้ามาสั่งทำเป็นจำนวนมาก จึงเกิดการรวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อรองรับงานดังกล่าว อาจารย์ทองสุข คำแก้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านปานซอยจึงได้สอนวิธีการทำปานซอยให้กับสมาชิกในกลุ่มเพื่อเป็นการหารายได้เพิ่มเติม และปัจจุบันอาจารย์ทองสุขได้สอนวิธีการทำปานซอยให้กับเด็กๆ ทั้งที่สนใจจะมาเรียนกับกลุ่มและสอนที่โรงเรียนซึ่งบางโรงเรียนได้บรรจุเป็นหลักสูตรในโรงเรียนอีกด้วย จึงเป็นที่แน่นอนแล้วว่างานปานซอยจะได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นและจะคงอยู่ตราบนานเท่านาน

จองพารา

           ประเพณีจองพารา เป็นประเพณีการทำบุญของชาวไทยใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จอง แปลว่า วัด หรือปราสาท ส่วนคำว่า พารา แปลว่าพระพุทธรูป หรือพระพุทธเจ้า การจองพารา คือ การสร้างปราสาทเพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้าที่จะเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในวันออกพรรษา

           จองพารา หรือปราสาทพระ เป็นศิลปะของชาวไทยใหญ่ ตัวโครงทำด้วยไม้ไผ่บุด้วยกระดาษสา ตกแต่งด้วยกระดาษสีเจาะเป็นช่องลวดลายสวยงามตั้งบนนั่งร้าน นำเครื่องห้อยซึ่งเป็นผลไม้ทุกชนิด ที่มีในท้องถิ่นมาแขวน นำต้นกล้วยต้นอ้อยมาผูกที่เสานั่งร้านทั้ง 4 มุม ตกแต่งประดับโคมไฟให้สว่างไสว เมื่อทำเสร็จแล้วก็จะยกจองพาราไว้นอกชายคา นอกรั้ว หรือบริเวณกลางลานทั้งที่บ้านและที่วัด



           การจองพาราจะตั้งบูชาในตอนหัวค่ำของวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 11 และทำพิธีอัญเชิญรับเสด็จตอนเช้ามืด ของวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งตรงกับวันออกพรรษา ชาวบ้านจะนำอาหารซึ่งประกอบด้วยข้าวสวย ขนม ผลไม้ใส่ในกระทงใบตองวางไว้ในจองพารา จุดธูปเทียนบูชากล่าวอัญเชิญพระพุทธเจ้าให้เสด็จ มาประทับที่จองพาราเพื่อเป็นสิริมงคลตั้งบูชาเรื่องไปจนครบ 7 วัน สิ้นสุดการบูชาก็จะนำจองพาราไป ทิ้งหรือเผา ไม่นิยมเก็บไว้ เมื่อถึงปีต่อไปก็จะทำขึ้นมาใหม่

          ประเพณีจองพาราเป็นงานบูชาพระพุทธเจ้า ครอบครัวใดจัดทำจองพาราเชื่อว่าครอบครัวนั้นจะมีแต่ ความสุขได้อานิสงส์อย่างสูง หมู่บ้านใดช่วยกันทำจองพาราบูชาไว้ที่วัดประจำหมู่บ้านตลอด 7 วันหลังวันออก พรรษาก็มีความเชื่อว่าทุกคนในหมู่บ้านจะมีความสุข

ชาใบหม่อน

           ชาวบ้านท่าโป่งแดงนิยมดื่มชาใบหม่อนกันมาก นอกจากจะมีกลิ่นหอมและสีสันชวนดื่มแล้ว ชาใบหม่อนยังมีสรรพคุณในการบำรุงสุขภาพ ลดระดับน้ำตาล และระดับคลอเรสเตอรอลในเส้นเลือด ชาใบหม่อนจึงเป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของหมู่บ้านท่าโป่งแดง



            กระบวนการผลิตชาใบหม่อนนั้นเริ่มจากนำใบหม่อนสดที่เก็บมาล้างให้สะอาด แล้วผึ่งให้แห้ง จากนั้นจึงนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วจึงนำไปคั่วในหม้อดินประมาณ 3 ชั่วโมง ในขณะที่คั่วต้องคอยดึงใบหม่อนออกจากกันเพื่อไม่ให้ติดกันเป็นก้อน เมื่อใบหม่อนสุกจึงเริ่มพันเกลียว แล้วคั่วต่อไปจนแห้ง นำมาพักไว้ให้เย็น แล้วบรรจุลงหีบห่อ ใบหม่อนสด 1 กิโลกรัมสามารถผลิตเป็นชาใบหม่อนพร้อมชงดื่มได้ 2 ขีด ชาใบหม่อนที่ได้สามารถเก็บไว้ได้นานเป็นปีเลยทีเดียว

ขนมงา



            เดิมชาวแม่ฮ่องสอนทำขนมงาในฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม เป็นช่วงที่มีการทำน้ำอ้อยเพื่อเก็บไว้ตลอดทั้งปี การทำขนมงาจะนำงามากวนในน้ำอ้อย เรียกว่า งาโหย่า ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากงา เป็นอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ให้คุณค่าทางอาหารสูง มีประโยชน์แก่ร่างกาย รสชาติหวาน อร่อย สะอาด ถูกหลักอนามัย

ไม้ประดิษฐ์



           กลุ่มไม้ประดิษฐ์บ้านท่าโป่งแดง จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 โดยเป็นการนำเอาเศษไม้ที่เหลือใช้มาสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน โดยการแกะสลัก และกลึงไม้ให้เป็นเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ เช่น แจกัน ด้ามมีด กระปุกออมสิน หรือตุ๊กตาไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำเอาวัสดุเหลือใช้อื่นๆ มาประกอบเข้ากับไม้ที่ผ่านการปรับแต่งได้อย่างลงตัวจนกลายเป็นชุดเฟอร์นิเจอร์ที่มีความสวยงาม และแข็งแรงคงทน

การแสดงชาวไทยใหญ่



            “ฟ้อนนกกิ่งกะหล่า” เป็นศิลปะการแสดงของชาวไทยใหญ่ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยนิยมแสดงในเทศกาลออกพรรษา ตามตำนานที่เชื่อว่าในครั้งพุทธกาลองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อได้ทรงตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปโปรดพระมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ครั้นพอถึงวันออกพรรษาจึงได้เสด็จกลับลงมายังโลกมนุษย์ บรรดามนุษย์และเหล่าเทพยดา ตลอดจนสัตว์ต่างๆ ในป่าหิมพานต์ต่างพากันปิติยินดีจึงได้มารอรับเสด็จพระพุทธองค์ โดยนกกิ่งกะหล่า (กินรา-กินรี ) มาฟ้อนด้วยลีลาอันอ่อนช้อยงดงาม จากตำนานนี้ชาวไทยใหญ่จึงได้ยึดถือปฏิบัติมาจนทุกวันนี้ เมื่อถึงเทศกาลออกพรรษาจึงได้จัดให้มีการแสดงฟ้อนกิ่งกะหล่าขึ้นทุกปี ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนนกกิ่งกะหล่าประกอบด้วย กลองก้นยาว ฆ้อง และฉาบ โดยมีกลองเป็นตัวกำหนดจังหวะในการฟ้อน



           “ฟ้อนไต” เป็นศิลปะการแสดงของชาวไทยใหญ่ มักจะใช้แสดงในงานมลคลโดยทั่วไป ผู้ฟ้อนเป็นหญิงล้วน นุ่งผ้าซิ่นไหมสีต่างๆ ที่มีดอกสดใส เสื้อแขนยาวทรงกระบอก เกล้ามวยผมทรงสูงแล้วปล่อยชายผมลงมาไว้ข้างๆ มีผ้าคล้องคอยาวๆ ปล่อยชายไว้ทั้ง 2 ข้าง ดนตรีที่ใช้ประกอบเป็นวงดนตรีของไทยใหญ่ และใช้เพลงไทยใหญ่

สถานที่ท่องเที่ยว/โบราณสถาน/โบราณวัตถุ

ศาลาเก่าแก่



          ศาลาเก่าแก่ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปาย สร้างด้วยไม้ทั้งหลังอายุกว่า 160 ปี เดิมศาลาเก่าแก่นี้ใช้เป็นท่าเรือที่พ่อค้าชาวพม่านำสินค้ามาพักเปรียบได้กับด่านศุลกากรในปัจจุบัน ต่อมาเปลี่ยนมาเป็นวัดโดยมีพระมาจำพรรษา แต่ปัจจุบันคงเหลือแต่พระพุทธรูปที่อยู่ภายในศาลาเก่าแก่เท่านั้น

ท่าเรือบ้านท่าโป่งแดง



           ปัจจุบันที่ท่าเรือแห่งนี้มีบริการนั่งเรือนำเที่ยวตามแม่น้ำปาย ผู้ที่สนใจนั่งเรือเที่ยวสามารถมาขึ้นเรือได้ที่ท่าแห่งนี้โดยจะมีบริการนำเที่ยว ได้แก่ บ้านน้ำเพียงดินสุดแดนสยามระยะทาง 20 กิโลเมตร บ้านกะเหรี่ยงคอยาวระยะทาง 15 กิโลเมตร โดยสามารถชมทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำปายได้ตลอดสาย


ขอขอบคุณ ข้อมูลและรูปภาพจาก www.lannavillage.com

แหล่งท่องเที่ยวใหม่ น่าสนใจ น้ำเพียงดิน - ผาห่มน้ำ - ถ้ำคำ

เที่นยวการค้าชายแดนไทย - พม่า


เปิดเส้นทางใหม่...น้ำเพียงดิน - ผาห่มน้ำ - ถ้ำคำ (หมู่บ้านปลอดภาษี)
ศึกษาธรรมชาติและวิถีชีวิตริมสองฝั่งแม่น้ำปายสุดชายแดนบ้านน้ำเพียงดิน


บ้านน้ำเพียงดิน  ต. ผาบ่อง อ.เมือง  จ.แม่ฮ่องสอน
"เส้นทางการค้าชายแดนไทย - พม่าในอดีต"
       น้ำเพียงดิน  ช่องทางที่มีอดีตที่น่าสนใจ  อีกทั้งยังเป็นเส้นทางการค้าทางน้ำที่เข้าสู่ประตู จังหวัดแม่ฮ่องสอน  เชื่อมโยงสองแผ่นดินระหว่างไทยกับพม่าเข้าไว้ด้วยกัน



















     
        จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีให้เห็นทางวัฒนธรรม  คือความศีทธาของชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอน  ประกอบกับความเชื่อทางพุทธศาสนา  ทำให้เจ้าพาราละแข่ง วัดหัวเวียง  เดินทางจากแม่น้ำสาละวินทวนน้ำขึ้นถึงแม่น้ำปายด้วยแพถึง 9 แพด้วยกัน  ต่อมาพบหลักฐานทางราชการ คือ โรงพักเก่าน้ำเพียงดิน  ซึ่งสร้างก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังคงปรากฎหลักฐานโครงสร้างอาคารอย่างสมบูรณ์ให้ได้ย้อนรอยถึงอดีต


        น้ำเพียงดิน  ชุมชนตลาดการค้าเล็กๆริมฝั่งแม่น้ำปาย  มีแฝงกลิ่นอายของวิถีชีวิตและธรรมชาติ  จะกลับมาสร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือนอย่างไม่รู้ลืม  ดั่งคำประพันธฺ์ว่าไว้


     รินรินไหลเซาะไพเราะร่ำ                              มาตกลำแม่น้ำปายร่วมไหลล่อง
ครึ้มภูผาป่าปกเสียงนกร้อง                              กล่อมประคองอยู่เคียงจำเนียงริน
อยู่ลึกล้ำน้ำมุดมาผุดพุ่ง                                   เสมอคุ้งขอบบ่อน้ำหล่อหิน
จึงได้ชื่อลือร่ำ "น้ำเพียงดิน"                           อยู่สุดถิ่นแดนไทยที่ชายแดน
ที่ชายชลดลประเทศเขตพม่า                           ที่น้ำป่าเป็นร้อนดอยเป็นแสน
ที่ฟ้าใสภูสูงยุงรำแพน                                       ที่ผู้คนยากแค้นยังเคียงคง
คนเพียงภูสู้เพียงสิ้นถิ่นเพียงที่                        ฟ้าเพียงสีไม้เพียงหินดินเพียงผง
รุ่งเพียงเรืองเมืองเพียงเหย้าเผ่าเพียงพงศ์    ยืนเพียงยงคงเพียงคำ " น้ำเพียงดิน"


                                                                           ประพันธฺ์โดย เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์